English 日本語
[gtranslate]
Thai | English

ประเทศ ไทย

ประเทศไทยมีปริมาณการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 และจะมีปริมาณเพิ่มขึ้น 75% ในอีก 20 ปีข้างหน้า รัฐบาลมีความมุ่งมั่นที่จะนำพลังงานทดแทนมาใช้งานภายในปี พ.ศ. 2579 ด้วยการติดตั้งอุปกรณ์แปลงพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า 6 กิกะวัตต์ (3 กิกะวัตต์ ในปี พ.ศ. 2559) การควบคุมอัตราค่าไฟฟ้าช่วยควบคุมการเพิ่มค่าไฟฟ้าในประเทศได้

การควบคุมราคาช่วยบรรเทาผลกระทบของการเพิ่มค่าไฟฟ้าในประเทศไทยได้

ตัวเลขที่สำคัญ

  • ดำเนินกิจการด้านพลังงานมากว่า 30 ปี
  • ก๊าซธรรมชาติเหลว 30% จากแหล่งก๊าซธรรมชาติบงกชที่ร่วมมือกันกับ ปตท.
  • มีพนักงานในประเทศไทยมากว่า 200 คน
  • เป็นผู้จัดจำหน่ายน้ำมันหล่อลื่น อันดับที่ 3
  • พลาสติกชีวภาพมูลค่า 200 ล้าน ดอลลาร์สหรัฐ / โรงงานผลิตที่มีประสิทธิภาพสูง
  • การพัฒนาพลังงานลมมากกว่า 100 มิลลิวัตต์

โทเทิ่ล (TOTAL) เป็นหนึ่งในบริษัทด้านพลังงานระดับนานาชาติที่มีขนาดใหญ่มากที่สุดของประเทศไทย

อุปกรณ์แปลงพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าที่ได้รับการติดตั้งแล้ว (ในปี พ.ศ. 2559)

ภาพรวมในส่วนของพลังงาน

  • มีการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า ตั้งแต่ ปี พ.ศ. และจะมีเพิ่มขึ้น 75% ในอีก 20 ปีข้างหน้า
  • ลูกค้ารับผิดชอบอัตราค่าไฟฟ้า (76% ของความต้องการทั้งหมด)
  • ประเทศไทยต้องการใช้พลังงานทดแทนปริมาณ 30% ในปี พ.ศ. 2579 ด้วยการใช้อุปกรณ์แปลงพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า 6 กิกะวัตต์ (จาก 3 กิกะวัตต์ ในปี พ.ศ. 2559)

ค่าไฟฟ้า และผู้ใช้ไฟฟ้าในอุตสาหกรรม

วิวัฒนาการของอัตราค่าไฟฟ้า (C&I)

  • รัฐบาลไทยกำหนดค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 1.6% โดยเฉลี่ยต่อปีในช่วง 15 ปี ที่ผ่านมา
  • ปัจจุบัน: 12-13 เซนต์สหรัฐ/กิโลวัตต์ .
  • บางบริษัทยังคงมีปัญหาด้านคุณภาพ และความน่าเชื่อถือ

ระเบียบข้อบังคับ

การริเริ่มของรัฐบาล:

  • แผนการพัฒนาพลังงานทดแทน และพลังงานทางเลือก (AEDP พ.ศ. 2558 – 2579) ตั้งเป้าหมายการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายของประเทศจากพลังงานทดแทนเอาไว้ 30% ภายในปี พ.ศ. 2579
  • เป้าหมายของแผนพัฒนาพลังงานทดแทน และพลังงานทางเลือก (AEDP) ในปี พ.ศ. 2579: พลังงานทดแทน 19.6 กิกะวัตต์ ซึ่งประกอบไปด้วย พลังงานแสงอาทิตย์ 6 กิกะวัตต์ พลังงานลม 3 กิกะวัตต์ พลังงานน้ำ 3.4 กิกะวัตต์ พลังงานก๊าซชีวภาพ 1.2 กิกะวัตต์ พลังงานมวลชีวภาพ 5.5 กิกะวัตต์ และพลังงานขยะ 0.5 กิกะวัตต์
  • ได้มีการติดตั้งอุปกรณ์แปลงพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าไปแล้ว 3.8 กิกะวัตต์ ภายในปี พ.ศ.2561 ซึ่งมากกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ ปัจจุบัน Irena Remap กำลังวางแผนกำลังการผลิตที่ 17.2 กิกะวัตต์ ภายในปี พ.ศ. 2579
  • ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันต่อพิธีสารเกียวโต เมื่อ ปี พ.ศ. 2545
  • ความตั้งใจที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (INDC): การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 20% เมื่อเปรียบเทียบกับธุรกิจปกติทั่วไปภายในปี พ.ศ. 2573

การดำเนินงาน

  • โควต้าในระบบเชิงพาณิชย์จะจำกัดการเติบโตด้วยมาตรการการส่งเสริมการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (FiT) แต่ควรจะต้องมีการประกาศโครงการของมาตรการรับซื้อไฟฟ้าแสงอาทิตย์บนหลังคา (net-metering) / การเรียกเก็บค่าใช้จ่ายสุทธิ (net-billing) เร็ว ๆ นี้
  • ระบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังแสดง (PV) มีราคาพลังงานขายปลีกที่สามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้ > บริษัทชั้นน้ำบางบริษัทกำหนดเป้าหมายไปที่ส่วนของผู้ผลิตพลังงานไฟฟ้าเองเพื่อใช้ในครัวเรือน
  • โครงการนำร่องของการผลิตพลังงานไฟฟ้าเองเพื่อใช้ในครัวเรือนได้เปิดตัวขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2559 ปริมาณ 100 เมกะวัตต์ โดยมีโควต้าจำกัดอยู่ที่ 5 กิกะวัตต์ สำหรับผู้ที่เป็นเจ้าของ หรือปล่อยเช่าอุปกรณ์การติดตั้ง การประเมินผลในปี พ.ศ. 2560 ด้วยการปฏิบัติตามนโยบาย
  • 100 เมกะวัตต์ สำหรับโครงการนำร่องของมาตรการรับซื้อไฟฟ้าแสงอาทิตย์บนหลังคา (net-metering)

Project Reference